1. อาหารและน้ำหนัก หัวใจของการดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้เป็นอย่างมาก โดย เรื่องโภชนาการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลดพลังงานในอาหารลง 5% ต่อทุก 10 ปี ของอายุที่เพิ่มขึ้น จนถึงอายุ 59 ปี และในช่วงอายุ 60 – 69 ปี ให้ลดพลังงานลง 10% และเมื่ออายุ 70 ปี ควรลดลง 20% เพื่อให้ผู้สูงอายุมีน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเมนูอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและปรุงอาหารด้วยรสชาติที่เหมาะสมไม่มีรสจัดจนเกินไป สำนักโภชนาการ กรมอนามัยได้แนะนำให้แบ่งสัดส่วนอาหารในแต่ละมื้อออกเป็น 4 ส่วนตามสัดส่วน 2:1:1 ได้แก่
นอกจากการดูแลเรื่องโภชนาการแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเรื่อง “น้ำ” เพราะช่วยเรื่องขับถ่ายและระบบย่อยอาหารโดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักดื่มน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อวันส่งผลให้ท้องผูก ดังนั้นควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และควรแบ่งดื่มครั้งละ 200 มิลลิลิตร เป็นประจำทุกวัน
2. สังเกตอาการผิดปกติเมื่ออออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายแบบเบา ๆ ไม่หนักจนเกินไป เช่น เดิน วิ่งช้า ๆ แอโรบิก รำมวยจีนหรือปั่นจักรยาน แต่ระหว่างที่ผู้สูงอายุกำลังอออกกำลังกายเราก็ควรที่จะสั่งเกตอาการผิดปกติ โดยอาการที่แสดงว่าควรหยุดออกกำลังกายทันที มีดังนี้
3. สุขภาพกายที่ดีมาพร้อมสุขภาพใจที่ดี
สุขภาพจิตของผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมการรับมือให้ดี เพราะด้วยอายุที่มากขึ้นทำให้ผู้สูงอายุต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ความเปลี่ยนแปลงเรื่องสถานะจากการเป็นพ่อแม่ที่เคยดูแลผู้อื่นกลายเป็นผู้ที่ถูกดูแล อาจเกิดความไม่เข้าใจและความขัดแย้งกันได้ เป็นเรื่องที่ผู้ดูแลต้องเตรียมรับมือ นอกจากนี้เรายังต้องปรับความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายของผู้สูงอายุ ไม่ควรทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเป็นภาระที่ต้องดูแล ดังนั้นหากดูแลผู้สูงอายุเป็นเวลานานแล้วรู้สึกเบื่อหน่าย อึดอัด ก็ควรหาผู้อื่นมาสลับเวลาดูแลเพื่อผ่อนคลายความเครียดบ้าง
นอกจากนี้ควรพาผู้สูงอายุไปสัมผัสกับอากาศภายนอกบ้านบ้าง ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ สถานที่ท่องเที่ยว ไปจนถึงการปรับปรุงบ้านให้มีบรรยากาศปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความเครียดน้อยลงและลดโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย
4. ทานยาตามแพทย์สั่ง
เนื่องจากตับของผู้สูงอายุที่กินยาเป็นประจำจะกรองยาและดูดซึมยาไว้ในระดับหนึ่งแต่ตับของผู้สูงอายุนั้นมีขนาดเล็กลงทำให้เลือดไหลผ่านตับน้อยลง ทำให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้นทั้งที่กินยาในปริมาณเท่าเดิมและไตของผู้สูงอายุก็กำจัดยาได้น้อยลงและมีสารพิษตกค้างในร่างกายมากขึ้น
ดังนั้นสิ่งสำคัญในการการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวจึงเป็นการทานยาตามแพทย์สั่งและทานยาให้ตรงเวลา ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง ใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มารับประทานอาการที่เกิดใหม่ รับยาหรือซื้อยาตามคำแนะนำของผู้อื่น เพราะการใช้ยาด้วยตนเองทำให้เกิดความเสี่ยงต่อพิษยาหรือผลข้างเคียงที่มีแนวโน้มรุนแรงซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
5. สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและตรวจสุขภาพประจำปี
หมั่นสั่งเกตอาการผิดปกติของร่างกายผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปัญหาการกินอาหาร เช่น กลืนอาหารได้ลำบาก ท้องอืดเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ระบบขับถ่ายผิดปกติ ท้องเสียหรือท้องผูกสลับท้องเสีย ไปจนถึงก้อนเนื้อที่ผิดปกติโดยเฉพาะก้อนที่โตเร็ว หากพบความผิดปกติควรพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ทันที
ที่สำคัญอย่าลืมพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีหรืออย่างน้อยทุก 3 ปี เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังต้องตรวจการมองเห็น การได้ยิน ไปจนถึงประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย
การดูแลผู้สูงอายุนั้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงต้องอาศัยความเข้าใจและการยอมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรงอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังต้องคอยสังเกตผู้สูงอายุอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจมาถึงโดยไม่ทันคาดคิดได้อย่างทันท่วงที